วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นักวิทยาศาสตร์ของโลก

ประวัตินักวิทยาศาสตร์โลก


ประวัติของ เซอร์วิลเลียม ครูกส์ ( Sir William Crookes)


เซอร์วิลเลียม ครูกส์ ( Sir William Crookes: 1832-1919) เขาเกิดเมื่อปีค.ศ. 1832 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อเขาเรียนจบชั้นสามัญ แล้วเขาก็สอบเข้าเรียนต่อในวิทยาลัย เขาเริ่มสนใจในสาขาที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาจึงเลือกเรียนสาขาวิชาเคมี จนสามารถแต่งตำราขึ้นเป็นฉบับแรกในปี ค.ศ. 1851 และเขาได้ค้นพบคุณสมบัติของสารประกอบอินทรีย์เคมีของธาตุเซเลเนียม แต่เขาก็มีความสนใจในวิชา "สเปคโตรสโคปี" มากเช่นกัน จึงหันมา เน้นศึกษาค้นคว้าทางสาขาฟิสิกส์บ้าง ดังนั้นในปี ค.ศ. 1861 เขาจึงนำธาตุเซเลเนียมมาศึกษาด้วยวิธีสเปคโตรสโคปีและพบว่ามีเส้นสีเขียวสวยงาม ปรากฎอยู่บนแถบสเปคตราแต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับธาตุอื่น ๆที่เคยทดลองมาปรากฎว่า ไม่เหมือนกันแสดงว่าธาตุนี้เป็นธาตุชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ เขาจึงตั้งชื่อให้ว่า"ธัลเลียม"มีความหมายตามภาษากรีกว่า เขียวขจี ต่อมาเขาประดิษฐ์เครื่องชั่งที่ละเอียดขึ้นมา และใส่ไว้ในหลอดสูญญากาศ เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากแรงพยุงของบรรยากาศ สำหรับตรวจสอบน้ำหนักอะตอมของธาตุธัลเลียม แต่เขาไม่สามารถตรวจสอบได้ เขาจึงตัดสินใจที่จะศึกษาคุณสมบัติของธาตุธัลเลียมในขณะที่อยู่ในหลอดสูญญากาศด้วยในปี ค.ศ. 1875 เขาจึงประดิษฐ์เรดิิโอมิเตอร์ขึ้น และใส่ไว้ในหลอดสูญญากาศซึ่งเป็นเครื่องมือวัดประจุไฟฟ้า ที่เคลื่อนผ่านอากาศบาง ๆเพื่อศึกษาเรื่องสูญญากาศ และในปีเดียวกันนี้เขาสามารถปรับปรุงหลอดสูญญากาศที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อใช้ในการศึกษาเรื่อง การแผ่รังสีหลังจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ต่างพากันเรียกหลอดสูญญากาศแบบนี้ว่า "หลอดครู้คส์" และเขายังได้อธิบายเรื่องการแผ่รังสีคาโธดไว้ว่า รังสีมีการเดินทางเป็นเส้นตรงและ มีเงา และการแผ่รังสีมีความแรงพอที่จะหมุนล้อเล็ก ๆ ได้

ครูกส์ ได้สร้างชุดการทดลองที่เรียกว่า หลอดปล่อยประจุครูกส์( Crookes tube) ซึ่งประกอบด้วยหลอดแก้วสุญญากาศ ข้างในมีโลหะ 2 แผ่นเรียกว่า " อิเล็กโตรด" ( electrode) ต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าด้านหนึ่งความต่างศักย์สูงเป็นขั้วบวกเรียก ว่า"แอโนด"( anode). อีกด้านต่อกับความต่างศักย์ต่ำเป็นขั้วลบเรียกว่า"แคโทด" (cathode) และมีแผ่นกระดาษกั้นกลางระหว่างสองขั้ว เมื่อต่อครบวงจรพบว่าจากเดิมที่ภายในหลอดมืดจะเกิดการเรืองแสงพุ่งจากแคโทด ไปยังแอโนด และเกิดเงากระดาษที่ฉากด้านหลัง.   นั่นแสดงให้เห็นว่าลำแสงที่เกิดขึ้นนี้เดินทางเป็นเส้นตรงและไม่สามารถทะลุ ผ่านกระดาษได้.   ครูกส์ เรียกลำแสงนี้ว่า "รังสีแคโทด" ( cathode rays )  เมื่อเขาทดลองต่อไป ก็พบว่าเมื่อแผ่ รังสีคาโธดเข้าไปในสนามแม่เหล็ก จะเกิดอนุภาคของประจุไฟฟ้า ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย เรียกประจุนี้ว่า อิเลคตรอน ในปี ค.ศ. 1903 เขาได้ประดิษฐ์สปินทรอริสโคปขึ้นเพื่อใช้ดู ประกายไฟที่เกิดจากการส่องสว่างของสังกะสีซัลไฟด์เมื่อโดนรังสีแอลฟ่าเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1919 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ประวัติของเกย์-ลูแซก




ชื่อ - โชแซฟ-ลุย เกย์-ลูแซก (Joseph-Loius Gay-Lussac)
เชื้อชาติ - ชาวฝรั่งเศส
มีชีวิตในช่วง - พ.ศ. 2321 - 2393
ผลงานที่สำคัญ - ทดลองวัดปริมาตรแก๊สที่ทำปฏิกิริยาพอดีกัน และปริมาตรของแก๊สที่ได้จากปฏิกิริยา ณ อุณหภูมิและความดันเดียวกัน แล้วสรุปเป็นกฎการรวมปริมาตรของแก๊ส เรียกว่ากฎของเกย์-ลูแซก

ใน ปี พ.ศ. 2351 (ค.ศ. 1808) โชแซฟ-ลุย เกย์-ลูแซก นักเคมีชาวฝรั่งเศสได้ศึกษาทดลองวัดปริมาตรของแก๊สที่ทำปฏิกิริยาจนสามารถ สรุปและตั้งเป็น กฎการรวมตัวปริมาตรของแก๊ส หรือเรียกว่า กฎของเกย์-ลูแซก มีข้อความว่า

เมื่อจำนวนโมลและปริมาตรแก๊สคงที่ ความดันของแก๊สจะแปรผันตามอุณหภูมิเคลวิลดังสมการ

หรือเขียนได้อีกแบบหนึ่งดังนี้
โดยที่

·         P เป็นความดันของแก๊ส
·         T เป็นอุณหภูมิอุณหพลวัต หน่วยเป็นเคลวิน


ลุยจิ กัลวานี (Luigi Galvani)

ลุย จิ กัลวานี  เดิมมีอาชีพเป็นสูติแพทย์และศัลยแพทย์เช่นเดียวกับบิดา ใน ค.ศ.1769  เขาได้สอนกายวิภาคศาสตร์ (anatomy)  ที่มหาวิทยาลัยโบโลญญา  และเป็นอาจารย์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ในคริสต์ทศวรรษที่ 1780  งานวิจัยส่วนใหญ่ของเขาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าในสื่งมีชีวิต  เขาได้สรุปว่าเนื้อเยื่อของสัตว์มีกระแสไฟฟ้าอยู่ตามธรรมชาติ  ด้วยการแสดงว่ากล้ามเนื้อจะกระตุกเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน  แต่อะเลสซานโดร โวลตาไม่เห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าว  อย่างไรก็ตามโวลตาก็เป็นผู้ริเริ่มใช้คำว่า กัลวานิซึม (Galvanism)  สำหรับไฟฟ้ากระแสตรงที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมี  อีกทั้งกัลวานนอมิเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกระแสไฟฟ้าที่มีค่าน้อยๆ ก็ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่กัลวานี ใน ค.ศ.1798  เขาถูกปลดจากมหาวิทยาลัยเพราะไม่ยอมรับใช้กองทัพนโปเลียนและเสียชีวิตลงใน อีกไม่นานต่อมา
โรเบิร์ต ฮัทชิงส์ ก็อดดาร์ด( Robert Hutchings Goddaed)

  โรเบิรต์ ฮัตชิงส์ ก็อดดาร์ด ได้รับปริญญาดุษฎีบันฑิตจากมหาวิทยาลัยคลาค และต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้อีกด้วย  จุดนี้ คือจุดที่ทำให้ ก็อดดาร์ด หันมาสนใจการทดลองผลิตจรวด หลังตากที่เขาสนใจในการทดลองดังกล่าวมาตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา โดยใช้ดินปืนเป็นเชื้อเพลิงและทดลองยิงขึ้นฟ้า การทดลองนี้เขาใช้เงินจำนวนมาก ก็อดดาร์ด ติงขอความสนับสนุนจากสถาบันต่างๆ เขาตึงเปลี่ยนจากดินปืนมาเป็นของเหลวแทนเชื้อเพลิงเดิม    

    กาลิเลโอ กาลิเลอี ( Galileo Galilei)
กาลิเลโอ กาลิเลอี (อิตาลี: Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นนักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญาชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"  "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์"  และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่

  หลุยส์ ปาสเตอร์


หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย ผลงาน
-ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์
-ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า